เทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร

http://technowimut.siam2web.com/

การสื่อสารข้อมูล 

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 

1. ระบุทิศทางการส่งข้อมูลได้ 

2. บอกชนิดของสัญญาณข้อมูลได้ 

3.บอกวิธีการสื่อสารข้อมูลได้ 

4.อธิบายตัวกลางการสื่อสารข้อมูลได้ 

5.มีทักษะในการค้นคว้าหาความรู้ในเรื่องการสื่อสารข้อมูล 

6.มีเจตคติที่ดีต่อการสื่อสารข้อมูล 

 

 สาระสำคัญ 

        การสื่อสารข้อมูล คือ การดอนย้ายข้อมูลจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง โดยใช้สื่อเป็นตัวนำในการสื่อสารข้อมูล ไม่ว่าจะสื่อสารด้วยวิธีใดจะประกอบด้วยองค์ประกอบของการสื่อสาร 5 ประการ คือ ผู้ส่งข้อมูล ผู้รับข้อมูล ข้อมูล สื่อนำข้อมูล และโพรโทคอล การส่งข้อมูลให้ผู้รับนั้นมีทิศทางการส่งข้อมูลที่แตกต่างกัน เช่น การดูโทรทัศน์ หรือการฟังวิทยุ เป็นการสื่อสารทิศทางเดียว หรือ การคุยโทรศัพท์ เป็นการสื่อสารสองทิศทางพร้อมกัน เนื่องจากต้องการผลตอบกลับทันทีทันใด ซึ่งจะทำการสื่อสารแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับวัตถูประสงค์ของการสื่อสารข้อมูล ทั้งนี้คุณภาพของการสื่อสารข้อมูลขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ชนิดของสัญญาณ ข้อมูลที่ถูกส่งไป หรือคุณภาพของสื่อที่เป็นตัวกลางนำสัญญาณข้อมูลไปยังปลายทาง 

         มนุษย์รู้จักการสื่อสารข้อมูลมาตั้งแต่อดีต  โดยทำการสื่อสารข้อมูลกันด้วยวิธีง่ายๆ  เช่น ควันไฟเพื่อบอกตำแหน่งที่ตนเองอยู่ หรือใช้สื่อตามธรรมชาติ เช่น นกพิราบสื่อสาร ต่อมาการสื่อสารได้ถูกพัฒนาให้สามารถสื่อกันได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น จดหมาย โทรเลข โทรศัพท์ เป็นต้น จนในปัจจุบันได้มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือที่ใช้ติดต่อสื่อสารถึงกันง่ายยิ่งขึ้น  ตัวอย่างเช่น จากการเขียนจดหมายส่งถึงกัน เปลี่ยนมาเป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (Email) หรือการถ่ายทอดสดผ่านทางดาวเทียมเพื่อรับชมการแข่งขันกีฬาต่างๆ เป็นต้น ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีการสื่อสารทำให้เกิดยุคของโลกไร้พรมแดน  ทั้งนี้เนื่องขากข่าวสารต่างๆทั่วโลกสามารถส่งถึงกันได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง 

         การสื่อสารข้อมูล ( Data Communication ) คือ การรับส่ง โอน ย้าย  หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลและข่าวสาร ( Information ) จากผู้ส่งไปยังผู้รับข้อมูล  โดยการสื่อสารผ่านสื่อซึ่งเป็นตัวกลางในการรับและส่งข้อมูล  วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร  คือ  ผู้ส่งต้องการให้ผู้รับสารเข้าใจถึงความหมายของข้อมูลข่าวสารที่ส่งไป

รูปภาพ 1.1 การสื่อสารข้อมูล

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล 

        การสื่อสารอาจทำได้หลายรูปแบบแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร  แต่ไม่ว่าจะทำการสื่อสารในรูปแบบใด  การสื่อสารทุกรูปแบบจะมีองคืประกอบในกานสื่อสาร 

 ( Component  of  Communication ) ดังนี้ 

1. ผู้ส่งข้อมูล ( Sender ) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลไปยังจุดหมายที่ต้องการ  ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์  สัตว์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ 

2. ผู้รับข้อมูล ( Receiver ) คือ  สิ่งที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาจากผู้ส่ง  ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์  สัตว์  หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกับผู้ส่งข้อมูล 

3. ข้อมูล ( Data ) คือ  สิ่งที่ผู้ส่งต้องการส่งไปยังผู้รับ  ซึ่งข้อมูลอาจเป็น ข้อความ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว 

4. สื่อนำข้อมูล ( Medium ) คือ  สิ่งที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการนำข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ เช่น คน อากาศ สายเคเบิล เป็นต้น 

5. โพรโทคอล ( Protocal )  คือ  ข้อตกลง  หรือวิธีการในการทำการสื่อสารข้อมูล  ซึ่งผู้ส่งและผู้รับจะต้องทำการตกลงวิธีสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน  เพื่อที่จะทำการส่งเละรับข้อมูลได้ถูกต้อง 

 

รูปที่ 1.2  องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล

ตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลด้วยโทรศัพท์ 

                มานีจะเดินทางมาเรียนหนังสือในกรุงเทพมหานคร มานีของโทรศัพท์ให้ปิติมารับที่สถานีรถไฟหัวลำโพง มานีกดหมายเลขโทรศัพท์ของปิติ เสียงกริ่งดังขึ้น 

ปิติ   : สวัสดีครับ 

มานี : สวัสดีค่ะ  ขอสายพี่ปิติค่ะ 

ปิติ  : กำลังพูดครับ  ไม่ทราบว่าใครพูดครับ 

มานี : มานีนะคะพี่ปิติ  มานีจะมาถึงกรุงเทพพรุ่งนี้น่ะ  เวลา 6 โมงเช้า  พี่ปิติมารับ ที่สถานีรถไฟหัวลำโพงด้วยนะคะ 

ปิติ  : 6 โมงเช้าเหรอ  โอ.เค.  แล้วพรุ่งนี้พี่ไปรับครับ 

มานี : อย่าลืมนะคะ  แล้วพรุ่งนี้เจอกันค่ะ

ปิติ  : ไม่ลืมแน่นอน  พรุ่งนี้เจอกัน  สวัสดีครับ

มานี : สวัสดีค่ะ

จากตัวอย่าง  องค์ประกอบของการสื่อสาร  มีดังนี้ 

ผู้ส่งข้อมูล ( Sender )  คือ   มานี

โพรโทคอล ( Protocal ) คือ   ปิติ

ข้อมูล ( Data )  คือ   ข่าวสารที่มานี และปิติคุยกันผ่านโทรศัพท์

สื่อนำข้อมูล ( Medium ) คือ   สายโทรศัพท์

ผู้รับข้อมูล ( Receiver ) คือ    วิธีการสื่อสารผ่านทางโทรศัพท์  เริ่มต้นตั้งแต่กดหมายเลขปลายทาง  รอฟังสัญญาณว่างจากปลายทาง  เมื่อปลายทางรับสายเล้ว  ผู้ส่งขอสายผู้รับ  แนะนำตนเอง  และผลัดกันพูด  สลับกับการกล่าวคำตอบรับเพทื่อแสดงการตอบตกลง  เมื่อจบการสนทนามีการกล่าวคำสวีสดีทั้งสองฝ่ายเพื่อสิ้นสุดกานสนทนา  แล้ววางหูโทรศัพท์

 

ทิศทางการส่งข้อมูล 

     การสื่อสารข้อมูลจากผู่ส่งไปยังผู้รับมีทิศทางการส่งข้อมูล (Trans mission  Mode ) 3 รูปแบบดังนี้ 

  การส่งข้อมูลทิศทางเดียว 

          การส่งสารข้อมูลทางเดียว ( Simplex Transmission )  เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีผู้ส่งข้อมู ลทำ  หน้าที่ส่งแ ต่เพียงผู้เดียวแล ะผู้รับทำหน้า ที่ รับข้อมูลแต่เ พียงผู้เดียว  ตลอดการทำการสื่อสารข้อมูลกันผู้รับจะไม่มีการตอบกลับมายังผู้ส่งเลย  การสื่อสารข้อมูลในลักษณะนี้  เช่น  การรับฟังวิทยุ  การดูโทรทัศน์  การรับข้อมูลจากเพจเจอร์ เป็นต้น

 

การส่งข้อมูลสองทิศทางสลับกัน

           การสื่อสารข้อมูลโดยการส่งข้อมูลสองทิศทางสลับกัน ( Half Duplex Transmis sion )  เป็นการสื่อสารข้อมูลที่ผู้ส่งและผู้รับทำหน้าที่ผลัดกันส่งและรับ  โดยที่ระหว่างฝ่ายหนึ่งทำหน้าที่ส่ง  อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องรอให้ผู้ส่งทำการส่งให้เสร็จก่อนจึงจะสามารถตอบกลับได้  นั่นคือ  ณ  ขณะใดขณะหนึ่งจะมีผู้ส่งเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น  ไม่สามารถส่งโต้ตอบกันได้ในเวลาเดียวกัน  จึงเป็นการผลัดการส่งและรับข้อมูล เช่น การใช้วิทยุสื่อสาร  เป็นต้น

การส่งข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน

            การสื่อสารข้อมูลโดยการส่งข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน ( Full Duplex  Transmission)  เป็นการสื่อสารข้อมูลที่ทั้งผู้ส่งและผู้รับสามารถเป็นผู้ส่งและผู้รับพร้อมกันได้ในเวลาเดียวกัน  นั่นคือ  ระหว่างอีกฝ่ายหนึ่งทำการส่งอยู่  อีกฝ่ายหนึ่งก็สามารถส่งข้อมูลตอบกลับมาได้เลยโดยไม่ต้องรอให้ส่งข้อมูลหมดก่อน  เช่น  การคุยโทรศัพท์  และการสนทนาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  เป็นต้น

ชนิดของสัญญาณข้อมูล

        ข้อมูลอาจจะเป็นข้อความ  เสียง  หรือภาพเคลื่อนไหว  ซึ่งไม่สามารถส่งไปในระยะทางไกลด้วยความเร็วสูง  ดังนั้นข้อมูลจะต้องถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าเรียกว่า สัญญาณข้อมูล ( Data Signal )  ทำให้สามารถส่งผ่านสื่อไปได้ในระยะทางไกลด้วยความเร็วสูง  ข้อมูลจะถูกแปลงเป็นสัญญาณข้อมูลได้ 2 ประเภท  ดังนี้

 

สัญญาณแอนะล็อก

                สัญญาณแอนะล็อก ( Analog Signal ) สามารถเขียนแทนได้ด้วยรูปกราฟคลื่นไซน์ ( Sine Wave ) ลักษณะเป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง  อธิบายรูปกราฟคลื่นไซน์ด้วยความถี่  และระดับความเข้มของสัญญาณความถี่  คือ  จำนวนรอบของคลื่นที่เคลื่อนที่มน 1 วินาที  หรือในเวลา 1 วินาที  คลื่นเคลื่อนที่ได้กี่รอบนั่นเอง  เช่น  สถานีวิทยุ  Hotwave กระจายเสียงที่ความถี่ 91.5 เมกะเฮิรตซ์ ( MHz ) หมายความว่า  เสียงของดีเจจากคลื่นวิทยุ  Hotwave  จะถูกแปลงสัญญาณแบบแอนะล็อก  โดยในเวลา 1 วินาที  สามารถผลิตคลื่นให้มีสัญญาณ 91.5 ล้านรอบ  ถ้าผู้รับต้องการรับฟังเพลงจากสถานีวิทยุ Hotwave ก็ต้องหมุนเครื่งรับวิทยุให้ตรงกับความถี่ที่สถานีวิทยุส่งออกมานั่นเอง  ข้อเสียของสัญญาณแบบแอนะล็อก  คือ  สัญญาณถูกรบกวนได้ง่าย  ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการรับส่งข้อมูล  เมื่อต้องส่งข้อมูลในระยะทางไกลระดับของสัญญาณจะอ่อนลง  และมีสัญญาณรบกวน  ดังนั้นจึงต้องมีเครื่องทวนสัญญาณ  เพื่อเพิ่มระดับสัญญาณและส่งต่อออกไป  ตัวอย่างของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก  เช่น  สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์  สัญญาณเสียงที่ส่งจากสถานีวิทยุ  เป็นต้น


 

 สัญญาณดิจิทัล

           สัญญาณดิจิทัล ( Digital Signal ) ลักษณะเป็นกราฟสี่เหลี่ยม ( Square Graph ) เป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปแบบของสัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงไม่ปะติดปะต่อ  กล่าวคือ  มีบางช่วงที่ระดับของสัญญาณเป็น 0  การแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของสัญญาณดิจิทัลต้องทำการแปลข้อมูลให้ข้อมูลเป็นแบบดิจิทัลก่อน  นั่นคือต้องแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบเลขฐานสอง  คือ  0  และ 1  แล้วทำการแปลงข้อมูลนั้นให้เป็นสัญญาณดิจิทัล  ซึ่งสามารถแปลงได้หลายรูปแบบ  เช่น  แบบ Unipolar แทนบิต 0  ด้วยระดับสัญญาณที่เป็นกลาง  และบิต 1 ด้วยระดับสัญญาณที่เป็นบวก  การส่งสัญญาณข้อมูลแบบดิจิทัลมีคุณภาพดีกว่าแบบแอนะล็อก  เมื่อต้องการส่งในระยะทางที่ไกลออกไปจะต้องใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณที่เรียกว่า รีพีตเตอร์ (Repeater) ซึ่งรีพีตเตอร์จะทำการกรองเอาสัญญาณรบกวนออกก่อนแล้วค่อยเพิ่มระดับสัญญาณ จากนั้นจึงส่งออกไป จะเห็นได้ว่าคุณภาพของสัญญาณที่ส่งออกไปจะใกล้เคียงของเดิมที่ส่งมา

               สัญญาณดิจิทัลมีหน่วยวัดความเร็วเป็นบิตต่อวินาที หรือ bit per second (bps) หมายถึงจำนวนบิตที่ส่งได้ในช่วงเวลา 1 วินาที เช่นโมเด็มมีความเร็ว 56 Kbps หมายความว่า โมเด็มสามารถผลิตสัญญาณดิจิทัลได้ประมาณ 56000 บิตใน 1 วินาที

 

วิธีการสื่อสารข้อมูล

การสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำการส่งสัญญาณดิจิทัล วิธีการส่งสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งทำได้ 2 วิธีดังนี้

 

การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม

การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม (Serial Data Transmission) เป็นการส่งข้อมูลครั้งละ 1 บิต เรียงกันไปบนสายสัญญาณจนครบจำนวนข้อมูลที่ต้องการส่ง ดังนั้นสื่อที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรมสามารถใช้สื่อที่มี 1 ช่องสัญญาณได้ และสื่อที่มีเพียง 1 ช่องสัญญาณนั้น จะมีราคาถูกกว่าสื่อที่มีหลายช่องสัญญาณ แต่เนื่องจากการส่งข้อมูลลักษณะนี้จะช้า ดังนั้นต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะครบ

 

การสื่อสารข้อมูลแบบขนาน

การสื่อสารข้อมูลแบบขนาน(Parallel Data Transmission) เป็นการส่งข้อมูลครั้งละหลายๆบิตขนานกันไปบนสื่อนำข้อมูล เช่น การส่งข้อมูลครั้งละ 8 บิต โดยในแต่ละช่องสัญญาณของสื่อนำข้อมูล 1 บิต ดังนั้นสื่อที่ใช้ในการส่งต้องมีช่องสัญญาณอย่างน้อย 8 ช่องสัญญาณ การสื่อสารข้อมูลลักษะนี้จะทำได้เร็วกว่าแบบอนุกรม เพราะสามารถส่งข้อมูลได้ทีละหลายๆบิต แต่ข้อเสียคือ ต้องใช้สื่อที่มีคุณภาพสูงและราคาแพง


 ตัวกลางการสื่อสารข้อมูล

          สื่อ หรือตัวกลางการสื่อสารข้อมูล (Communication Media) ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของการสื่อสารข้อมูล เพราะการเลือกใช้สื่อที่เหมาะสม ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการสื่อสารข้อมูลและประหยัดต้นทุน ตัวกลางหรือสื่อที่ใช้ในการสื่อสารแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆดังนี้

สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย

                สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย (Wired Media) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Guided Media ซึ่งก็คือสื่อที่สามารถบังคับให้สัญญาณข้อมูลเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่กำหนดได้ แบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้

                1.สายคู่บิดเกลียว ( Twisted Pair Cable)

ลักษณะทางกายภาพ: สายคู่บิดเกลียวเป็นสายสัญญาณไฟฟ้านำข้อมูลได้ทั้งแอนะล็อกและดิจิทัล ลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป ราคาไม่แพงมาก น้ำหนักเบา ติดตั้งได้ง่าย ภายในสายคู่บิดเกลียวจะประกอบด้วยสายทองแดงพันเป็นเกลียว เป็นคู่ๆ ซึ่งอาจจะมี 2,4หรือ 6 คู่ สายคู่บิดเกลียวแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแบบไม่มีชั้นโลหะห่อหุ้ม เรียกว่า Unshielded Twisted Pair หรือเรียกย่อๆว่า สาย UTP แบบมีชั้นโลหะห่อหุ้ม เรียกว่า Shielded Twisted Pair หรือเรียกย่อๆว่า STP ซึ่งภายในสายมีโลหะห่อหุ้มอีกชั้น โลหะจะทำหน้าที่ป้องกันสัญญาณรบกวนที่มาจากภายนอก

คุณสมบัติ : เนื่องจากสายคู่บิดเกลียวประกอบด้วยสายทองแดงพันเป็นเกลียว การพันกันเป็นเกลียวทำเพื่อลดการรบกวนจากสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในสายเคเบิลเดียวกันหรือจากภายนอกลงได้

ความถี่ในการส่งข้อมูล     : 100 เฮิรตซ์ (Hz) ถึง 5 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)

ความเร็วในการส่งข้อมูล  : 1 ล้านบิตต่อวินาที (Mbps)


2. สายโคแอคเชียล (Coaxial Cable)

          ลักษณะทางกายภาพ : สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณไฟฟ้านำข้อมูลได้ทั้งแอนะล็อกและดิจิทัลเช่นเดียวกับสายคู่บิดเกลียว ลักษณะคล้ายสายเคเบิลทีวี โดยภายในมีตัวนำไฟฟ้าเป็นแกนกลางและห่อหุ้มด้วยฉนวนเป็นชั้นๆตัวนำโลหะทำหน้าที่ส่งสัญญาณ ส่วนฉนวนทำหน้าที่ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก

                คุณสมบัติ :  สายโคแอกเชียลมีฉนวนห่อหุ้มหลายชั้น ทำให้ห้องกันสัญญาณรบกวนได้มากกว่าสายคู่บิดเกลียว ส่งข้อมูลได้ระยะทางไกล และมีช่วงความกว้างในการส่งข้อมูลมาก ทำให้ส่งข้อมูลด้วยอัตราเร็ว มีราคาสูงกว่าสายคู่บิดเกลียว

                ความถี่ในการส่งข้อมูล : 100 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ถึง 500 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)

                ความเร็วในการส่งข้อมูล : 1 ล้านเมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ถึง 1 พันล้านบิตต่อวินาที (Gbps)

 

3. สายใยแก้วนำแสง (Optical Fiber Cable)

                ลักษณะทางกายภาพ : สายใยแก้วนำแสง ภายในสายประกอบด้วย แกนกลางทำจากใยแก้วนำแสง ซึ่งเป็นท่อแก้วหรือท่อซิลิกาหลอมละลาย และห่อหุ้มด้วยวัสดุห้องกันแสง สัญญาณที่ส่งผ่านใยแก้วนำแสง คือ แสง ดังนั้นข้อมูลจะถูกแปลงเป็นแสงที่มีความเข้มของแสงต่างระดับกัน เพื่อส่งผ่านใยแก้วนำแสง

                คุณสมบัติ : เนื่องจากสายใยแก้วนำแสงนำสัญญาณที่เป็นแสง ดังนั้นแสงมีการเคลื่อนที่เร็วมาก การส่งข้อมูลผ่านสายใยแก้วนำแสงจึงทำการส่งได้เร็วเท่ากับความเร็วแสง สิ่งรบกวนจากภายนอกมีเพียงแสงเท่านั้น ดังนั้นสัญญาณรบกวนจากภายนอกจึงมีน้อยมาก แต่ราคาของสายใยแก้วนำแสงมีราคาสูง และการติดตั้งเดินสายทำได้ยากกว่าสายประเภทอื่นๆ ส่วนใหญ่การเดินสายจะใส่ท่อลงดินเพื่อนป้องกันแสงรบกวน

                ความเร็วในการส่งข้อมูล : 10 ล้านบิตต่อวินาที (Mbps) ถึง 2พันล้านบิตต่อวินาที (Gbps)


 

สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย

                สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ Unguided Media คือสื่อที่ไม่สามารถให้ข้อมูลเดินทางที่ต้องการได้ อากาศเป็นสื่อกลางหรือตัวกลางในการนำข้อมูลไปยังปลายทางชนิดหนึ่ง การสื่อสารโดยใช้อากาศเป็นตัวกลางมีลักษณะการสื่อสาร 4 ประเภทดังนี้

                1. แสงอินฟราเรด

                การสื่อสารโดยการส่งด้วยแสงอินฟราเรด (Infrared) จะใช้ในการสื่อสารในระยะทางใกล้ๆเช่น การใช้แสงอินฟราเรดจากเครื่องรีโมทคอนโทรลไปยังเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ การส่งข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือไปยังโทรศัพท์มือถือด้วยกันเอง หรือระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาเนื่องจากแสงอินฟราเรดไม่สามารถทะลุผ่านวัตถุทึบแสงได้ ดังนั้นจึงไม่สามารถส่งข้อมูลในระยะทางไกลได้


                2. สัญญาณวิทยุ

                การสื่อสารโดยการส่งสัญญาณวิทยุ (Radio Wave) ที่มีความถี่ต่างๆกัน สามารถส่งไปได้ในระยะทางไกลๆหรือในสถานที่ที่ไม่สามารถใช้สายส่งไปได้ แต่เนื่องจากใช้อากาศเป็นตัวกลางในการสื่อสาร ดังนั้นเมื่อสภาพอากาศไม่ดี จึงมีผลต่อสัญญาณวิทยุที่ทำการส่งออกไป สัญญาณวิทยุมีหลายคลื่นความถี่ ซึ่งถ้าใช้แตกต่างกันเช่น สัญญาณวิทยุความถี่ 300 กิโลเฮิรตซ์ (KHz) -3เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ใช้ในการส่งคลื่นวิทยุ AM หรือสัญญาณวิทยุความถี่ 30-300 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ใช้ในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ช่อง 3,5,7,9 วิทยุ FM และวิทยุสายการบิน เป็นต้น

 

                3.ระบบไมโครเวฟ

                ระบบไมโครเวฟ (Microwave) เป็นการสื่อสารไร้สายโดยการส่งสัญญาณเป็นคลื่นไมโครเวฟจากเสาไมโครเวฟต้นหนึ่งไปยังเสาไมโครเวฟที่ตั้งอยู่ในระยะทางไกลออกไป เนื่องจากทิศทางการส่งข้อมูลระหว่างเสาไมโครเวฟ 2 ต้น ส่งในทิศทางที่เป็นเส้นตรง หรือเรียกว่าระยะเส้นสายตา (Line of Sight) ดังนั้นถ้าระหว่างเส้นทางการส่งข้อมูลมีสิ่งกีดขวางก็จะไม่สามารถส่งสัญญาณได้ ดังนั้นจึงต้องมีการติดตั้งจานรับส่งเป็นสถานีทวนสัญญาณ (Repeater Station) เพื่อเป็นจุดส่งสัญญาณต่อไปยังเสาไมโครเวฟต้นต่อไป ซึ่งเป็นลักษณะการสื่อสารแบบส่งสัญญาณต่อเนื่องเป็นช่วงๆไป โดยปกติคลื่นไมโครเวฟจะถูกส่งได้ไกลประมาณ 20-30ไมล์ คลื่นไมโครเวฟจะถูกรบกวนได้จากสภาพอากาศที่ไม่ดีเช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เป็นต้น

                คลื่นไมโครเวฟมีความถี่สูงถึง 2 ล้านรอบ (MHz) ถึง 40 พันล้านรอบต่อวินาที (GHz) สามารถส่งข้อมูลได้ในปริมาณถึง 1 ล้านบิตต่อวินาที (Mbps) ถึง 10 พันล้านบิตต่อวินาที (Gbps)

                ข้อดีของการสื่อสารด้วยระบบไมโครเวฟ คือ สามารถทำการสื่อสารระยะทางไกลๆได้โดยไม่ต้องเดินสายให้ยุ่งยาก และสามารถส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก แต่ข้อเสียคือ คลื่นไมโครเวฟถูกรบกวนได้ง่ายจากสภาพอากาศที่แปรปรวน และมีค่าใช้จ่ายและค่าติดตั้งเสาและจานรับที่มีราคาแพง

 

4.การสื่อสารผ่านดาวเทียม

                เมื่อต้องการทำการสื่อสารในระยะทางที่ไกลออกไป การเชื่อมต่อโดยใช้สายเคเบิลไม่สามารถทำได้ การสื่อสารด้วยระบบไมโครเวฟก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากและทำการติดตั้งยาก ดังนั้นคำตอบของการสื่อสารในระยะทางไกลอีกวิธีหนึ่งคือ การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication)

                การสื่อสารผ่านดาวเทียม เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกไปสู่ดาวเทียม โดยบนพื้นโลกจะมีสถานีส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียมที่โคจรอยู่นอกโลก ซึ่งจะทำหน้าที่ทวนสัญญาณและกระจายสัญญาณส่งกลับมายังสถานีรับบนโลก โดยจะทำการส่งดาวเทียมขึ้นไปห่างจากพื้นโลกประมาณ 22, 000ไมล์ ด้วยระยะทางการส่งข้อมูลระหว่างโลกและดาวเทียมที่อยู่ไกลกันมากทำให้การส่งข้อมูลมีความล่าช้า (Delay)

          การสื่อสารผ่านดาวเทียมเหมาะสมกับการสื่อสารระยะทางไกลมากๆเช่น การสื่อสารระหว่างประเทศ


 

จบครับ






Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 71,759 Today: 5 PageView/Month: 100

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...