เทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร

http://technowimut.siam2web.com/


โปรแกรม  Microsoft   Word  2002

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 

 

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 

            1.อธิบายความหมายและประโยชน์ของ Microsoft   Word  2002 ได้

            2.อธิบายวิธีการใช้งานโปรแกรม Microsoft   Word  2002 ได้

            3.มีทักษะในการสร้างงานโดยใช้โปรแกรม Microsoft   Word  2002

            4.มีเจตคติที่ดีต่อการใช้งานโปรแกรม Microsoft Word  2002

สาระสำคัญ 

         โปรแกรม Microsoft Word 2002เป็นหนึ่งโปรแกรมในชุด Microsoft  Office XP ซึ่งได้รับความนิยมแพร่หลายเนื่องจากใช้งานง่าย  มีเมนูคำสั่ง   และรวมถึงการให้ความช่วยเหลือทั้งภาษาไทย  และภาษาอังกฤษ  ซึ่งโปรแกรมถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานด้านเอกสารต่างๆ   เช่น  จดหมาย  รายงาน  คู่มือต่างๆ ใบปะหน้าแฟกซ์  และบันทึกข้อความเป็นต้น

 ความหมายและประโยชน์ของโปรแกรม Microsoft   Word  2002

          โปรแกรม Microsoft   Word  2002 เป็นหนึ่งโปรแกรมในชุด Microsoft  Office XPซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย  ใช้งานง่าย  มีเมนูคำสั่ง   และรวมถึงการให้ความช่วยเหลือ  ทั้งภาษาไทย  และภาษาอังกฤษ  ซึ่งโปรแกรมถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานด้านเอกสารต่างๆ   เช่น  จดหมาย  รายงาน  คู่มือต่างๆ ใบปะหน้าแฟกซ์  และบันทึกข้อความเป็นต้น

ลักษณะเด่นและความสมารถของโปรแกรม Microsoft   Word  2002  คือ

            1.มีผู้ช่วย(Office Assistance)ให้ความช่วยเหลือได้ทั้งการสอบถามคำสั่งและวิธีการใช้งานโปรแกรม

            2.มีการตกแต่งเอกสารที่ง่าย  ทำได้ทั้งรูปแบบตัวอักษรและย่อหน้า (Paragraph)

            3.มีการสร้างเอกสารจากต้นแบบ(Templates)ในลักษณะต่างๆ

            4.สร้างตารางเพื่อเป็นองค์ประกอบให้กับเอกสาร

            5.ใส่รูปภาพที่ได้มาจาก Clip  Art,Internet กล้องดิจิทัล,เครื่องสแกน  และรูปกราฟ

            6.มีระบบอัตโนมัติในรูปแบบต่างๆช่วยเตือนหรือแก้ไขให้  เพื่อให้งานเสร์จสมบูรณ์รวดเร็ว

            7.สร้างเอกสารในรูปแบบ HTML (HyperText  Markup  Language) หรือที่เรียกว่า Web  page

 

 

การเรียกใช้ โปรแกรม Microsoft   Word  2002 

การเรียกใช้ โปรแกรม Microsoft   Word  2002  ทำได้ดังนี้

            1.คลิกที่ปุ่ม Star

            2.คลิกเลือก All  Programs

            3.คลิกเลือก  Microsoft   Word       

            4.เข้าสู่หน้าจอโปรแกรม Microsoft   Word 

ส่วนประกอบต่างๆ ของ Microsoft   Word  2002

 

1.แถบชื่อเรื่อง(title  Bar)ทำหน้าที่บอกชื่อไฟล์เอกสารและโปรแกรม Microsoft   Word  ที่ใช้งานปัจจุบัน

 

2.แถบเมนูคำสั่ง (Menu  Bar) ทำหน้าที่แสดงเมนูคำสั่ง

 

3.แถบเครื่องมือ(Toolbars)ทำหน้าที่แสดงปุ่มคำสั่งต่างๆที่ใช้บ่อยๆเช่น ปุ่มบันทึก(Save)เป็นต้น  เป็นการเลือกใช้คำสั่งต่างๆ  ที่มีให้เลือกบนแถบเครื่องมือแต่ละแถบ  แทนการเลือกจาดเมนูคำสั่ง  เช่น  แถบเครื่องมือมาตรฐาน (Standard  Toolbar) และแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ(Formatting  Toolbar)

 

4.ตัวแทรกข้อความ(Insertion  Point) ทำหน้าที่เป็นตัวบอกตำแหน่งที่เริ่มพิมพ์  หรือตำแหน่งที่เริ่มแก้ไข 

 

5.แถบแสดงสถานะ(Status  Bar)ทำหน้าที่แสดงตำแหน่งของตัวแทรกข้อความว่าอยู่ที่หน้าใดและจำนวนทั้งหมดของเอกสารว่ามีทั้งหมดกี่หน้า  รวมทั้งสถานะต่างๆ  เกี่ยวกับการพิมพ์  และการแก้ไข 

 

6.แถบเลื่อน(Scroll  Bar) ทำหน้าที่เลื่อนมุมมองของจอภาพ  ในแนวตั้งหรือแนวนอนเมื่อจอภาพไม่สามารถแสดงข้อมูลได้ครบ 

 

7.ปุ่มควบคุมหน้าต่างไฟล์(Close  Window) คือ  ปุ่มปิดหรือ  ทำหน้าที่ปิดหน้าต่างของไฟล์ที่เปิดใช้งานอยู่(คำสั่งจากเมนู File  Close…+)


 

8.ปุ่มควบคุมหน้าต่างโปรแกรม(Control  Buttons) ประกอบด้วยปุ่มต่างๆโดยจะมี 4 สถานะ คือ

  ปุ่มย่อ  หรือ Minimize ทำหน้าที่ย่อหน้าต่างของโปรแกรมรวมทั้งไฟล์ต่างๆที่เปิดใช้งานอยู่มาเก็บไว้ที่ Taskbar

* ปุ่มขยาย  หรือ Maximze ทำหน่าที่ขยายหน้าต่างของโปรแกรมใฟ้เต็มพื้นที่ทั้งหมดของโปรแกรม

ปุ่มกลับสู่สภาพเดิม หรือ Restore Down ทำหน้าที่ขยายหน้าต่างกลับไปมีขนาดเท่ากับขนาดที่ก่อนขยายหน้าต่างโปรแกรมให้เต็มจอ

  ปุ่มปิด หรือ Close ทำหน้าที่ออกจากโปรแกรม (คำสั่งจากเมนู FileExit…+)

 

9.แถบเครื่องมือ(Task  Pane) เป็นแถบเครื่องมือที่ช่วยในการทำงานหลายๆด้าน เช่น การสร้างเอกสารใหม่  คลิปบอร์ด(Clipboard)  ลักษณะและรูปแบบอักษร และการเปรียบเทียบรูปแบบของข้อความ

การเลือกภาษาที่ใช้พิมพ์ 

               ก่อนจะมีการเพิ่มพิมพ์ข้อความลงไปบนเอกสารนั้น จำเป็นต้องรู้จักกับแป้นพิมพ์ที่จะช่วยให้สามรถเปลี่ยนสถานะแป้นพิมพ์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยหรือจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษคือแป้น<\> เรียกว่า Accent  Graveซึ่งมักจะเข้าใจผิดว่าใช้แป้น <~>(รูปตัวหนอน)  ดังนั้นเมื่อผู้ใช้ต้องการปรับภาษาการพิมพ์ให้กดแป้น~ และสังเกตสถานะของภาษาที่แถบแสดงสถานะ(Status  Bar)

การป้อนข้อความ 

      การพิมพ์ข้อความแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 

               1.การพิมพ์แทรกโดยทั่วไปแล้วมักเป็นค่าปกติ(Default)ของการพิมพ์ เนื่องจากเมื่อมีการพิมพ์ข้อความก็จะแทรกต่อไปเรื่อยๆโดยข้อความที่อยู่หลังจากตัวแทรกข้อความ( | ) ยังคงเลื่อนไป สังเกตสถานการณ์พิมพ์แทรกได้จาก Status  Barที่บริเวณ OVR (Overtype)

               ตัวอย่าง ABCD|EFGHIJ  จะได้ ABCD1234|EFGHIJ

               2.การพิมพ์ทับ  การพิมพ์ข้อความที่ทับข้อความเดิมที่มีอยู่เดิมแล้ว  โดยสังเกตสถานการณ์พิมพ์ทับได้จาก Status  Barที่บริเวณ OVR (Overtype)  จะมีสีเข็มขึ้น

               ตัวอย่าง ABCD|EFGHIJ   จะได้ ABCD1234|IJ

 การลบข้อความในเอกสาร 

       การลบข้อความนั้น  สามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ 

               1.ลบตัวอักษรที่อยู่ทางด้านซ้ายของตัวแทรกข้อความ( | ) ซึ่งใช้แป้น < Backspace>เพื่อลบข้อความทางซ้ายครั้งละหนึ่งตัวอักษร เช่น ลบตัวอักษร D และ C  ABCD|EFGHIJ   จะได้  ABCD|GHIJ   

               2.ลบตัวอักษรที่อยู่ทางด้านขวาของตัวแทรกข้อความ( | ) ซึ่งใช้แป้น เพื่อลบข้อความทางขวาครั้งละหนึ่งตัวอักษร เช่น ลบตัวอักษร E และ F จาก ABCD|EFGHIJ   จะได้  ABCD|GHIJ   

 

 การยกเลิกคำสั่ง 

       การใช้คำสั่งหรือการพิมพ์ข้อความ  อาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น  อาจจะเป็นด้วยคำสั่งที่เลือกจากเมนูหรือแถบเครื่องมือ  และการพิมพ์ข้อความ  ซึ่งสามารถยกเลิกคำสั่งต่างๆเหล่านั้นได้ดังนี้ 

               วิธีที่ 1 เลือกจากเมนู  EditUndo

               วิธีที่ 2 จากปุ่ม Undo () บน  Standard  Toolbar

               ตัวอย่าง  1234567890 | จะได้ |

 ลักษณะตัวชี้ตำแหน่งของเมาส์(Pointer) ใน Microsoft   Word  2002

หมายถึง  ตัวชี้เมาส์ในตำแหน่งที่เป็นปุ่มคำสั่ง  เมนู  หรือ  Scrollbar ซึ่งให้เลือกคำสั่ง 

 หมายถึง  ตัวชี้เมาส์ในตำแหน่งด้านหน้าของเอกสาร  หรือริมกั้นน้ำ ( Left  Margin) อีกชื่อหนึ่งว่า “Selection  Bar” 

I หมายถึง  ตัวชี้เมาส์ในตำแหน่งของเอกสาร  หรือตำแหน่งของเอกสาร  หรือตำแหน่งที่สามารถพิมพ์ข้อความได้เรียกว่า “Text  Select” ใช้เลื่อนตำแหน่งตัวแทรกข้อความ( | )

การกลับไปยังตำแหน่งต่างๆของเอกสาร 

               การกลับไปยังตำแหน่งต่างๆในเอกสารนั้น  คือการทำให้ตัวแทรกข้อความ( | ) เลื่อนไปยังตำแหน่งที่ต้องการ  โดนใช้เมาส์คลิกไปยังตำแหน่งต่างๆ ที่ต้องการหรือใช้แป้นต่างๆบนคีย์บอร์ดดังนี้


การสร้างเอกสารใหม่ 

          การสร้างเอกสารใหม่นั้น เมื่อผู้ใช้เปิดโปรแกรมจะเห็นได้ว่าโปรแกรมได้สร้างไฟล์เอกสารขึ้นมา เพื่อใช้งานอยู่แล้ว 1 เอกสาร แต่เมื่อผู้ใช้ต้องการสร้างขึ้นมาใหม่อีกก็สามารถทำได้ดังต่อไปนี้

          1)  สร้างเอกสารเปล่า (Blank document)

                        วิธีที่ 1  คลิกปุ่ม New (  ) บน Standard Toolbar

                        วิธีที่ 2  กดแป้น <Ctrl> + <N>  

          2)   สร้างเอกสารจากต้นแบบ (Templates)

                        2.1  คลิกเมกนู  File  >  New…

                  2.2  จะปรากฎแถบเครื่องมือเอกสารใหม่ (New Document)

                        2.3  คลิก General Templates…


                        2.4  จะปรากฏหน้าต่าง Templates

                        2.5 เลือกกลุ่มประเภทของเอกสารต้นแบบ (Templates)

                        2.6  เลือกเอกสารต้นแบบ

                        2.7  คลิกปุ่ม     OK

                        2.8  จะปรากฏเอกสารต้นแบบตามที่เลือกไว้

 

 

 

มุมมองใน Microsoft Word 2002

            มุมมองใน Microsoft Word 2002 นั้น  แบ่งเป็นหลายมุมมองด้วยกัน ซึ่งแต่ละมุมมองจะมีลักษณะเด่นแตกต่างกัน ดังนี้

            1)  มุมมองปกติ

                   มุมมองปกติ (Normal View)  เป็นการกำหนดมุมมองให้เห็นทุกๆ สิ่งที่พิมพ์ในเอกสาร เหมาะสำหรับแก้ไขและกำหนดรูปแบบของข้อความ ซึ่งจะแสดงตาราง รูปแบบข้อความที่ดูง่าย รวมถึงการแก้ไขก็ยังเป็นไปได้ง่ายและรวดเร็ว ถ้าเอกสารที่กำลังใช้งานอยู่ไม่ได้แสดงอยู่ในมุมมองปกติ ผู้ใช้สามารถกำหนดด้วยคำสั่ง View > Normal หรือกดที่ปุ่ม

รูปที่ 5.2 มุมมองปกติ

2)  มุมมองเค้าโครงเว็บ

มุมมองเค้าโครงเว็บ (Web Layout View)  เป็นมุมมองที่ช่วยให้การอ่านข้อความในเอกสารเป็นไปได้ง่ายขึ้น  ข้อความที่แสดงให้เห็นเป็นข้อความตามความ ก้าวของหน้าต่างโปรแกรม และตัดให้พอดีกับหน้าต่างที่แสดงข้อความ การแสดงข้อมูลต่างๆ บนเอกสารจะมีลักษณะคล้ายกับ Print Layout View ถ้าเอกสารที่กำลังเปิดใช้ไม่ได้แสดงในมุมมองเค้าโครงเว็บ ผู้ใช้ก็สามารถกำหนดได้ด้วยคำสั่ง  View >  Web Layout   

          3)  มุมมองเหมือนพิมพ์

         มุมมองเหมือนพิมพ์ (Print Layout View) เป็นมุมมองที่เห็นวัตถุต่างๆ วางลงไปบนเอกสาร เช่น ตาราง กราฟ วัตถุที่สร้างขึ้น และรูปภาพ เป็นต้น มุมมองนี้ใช้ประโยชน์เพื่อการแก้ไขหัวกระดาษและท้ายกระดาษ  จัดขอบกระดาษ สร้างคอลัมน์ วาดวัตถุต่างๆ และกรอบข้อความ ถ้าเอกสารที่กำลังเปิดใช้อยู่ไม่ได้แสดงในมุมมองเหมือนพิมพ์ ผู้ใช้ก็สามารถกำหนดได้ด้วยคำสั่ง  View > Print Layout  

 

 

            4)  มุมมองเค้าร่าง

มุมมองเค้าร่าง (Outline View) เป็นมุมมองที่แสดงโครงสร้างของเอกสารเฉพาะข้อความและตาราง ไม่สามารถแสดงรูปภาพในเอกสารได้ มุมมองประเภทนี้เหมาะสำหรับการสลับเปลี่ยนหัวข้อเอกสาร เพราะไม่สามารถแสดงทั้งหัวข้อและรายละเอียดของเอกสารด้วย ถ้าเอกสารที่เปิดใช้งานอยู่ไม่ได้แสดงในมุมมองเค้าร่าง ผู้ใช้ก็สามารถกำหนดได้ด้วยคำสั่ง View > Outline   


 

 

 การเลือกตัวอักษรและข้อความ 

            การเลือกตัวอักษรและข้อความ กระทำเพื่อการที่จะได้ใช้ประโยชน์จากกลุ่มคำที่ได้เลือกไว้ เช่น ต้องการเปลี่ยนขนาด เปลี่ยนแบบตัวอักษร เป็นตัวขีดเส้นใต้ เป็นต้น มีวิธีการ ดังนี้ 

          1)  เลือกโดยการแดรก (Drag) เมาส์

                        - คลิกเมาส์ที่ตำแหน่งเริ่มต้นของข้อความ และกดปุ่มเมาส์ค้างไว้

                        - ลากเมาส์ไปให้เกิดเป็นแถบสีดำทับข้อความที่ต้องการเลือก

                        - ปล่อยเมาส์เมื่อเลือกข้อความครบตามต้องการ


เลือกทั้งเอกสาร 

            การเลือกข้อความทั้งเอกสาร  คลิกเลือกเมนูคำสั่ง  Edit   Select  All หรือกดแป้น <Ctrl> + <A>  


 

 

แถบเครื่องมือ 

        แถบเครื่องมือ  คือ  ปุ่มคำสั่งที่ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้โดยตรง  เพื่อที่จะได้รับความสะดวกในการเรียกใช้คำสั่งที่ถูกเรียกใช้งานบ่อยๆ  แถบเครื่องมือที่ถูกเปิดใช้เป็นประจำ  มีอยู่ 2 แถบเครื่องมือ  คือ 

            1.แถบเครื่องมือมาตรฐาน ( Standard  Toolbar ) 


  

 

        2.แถบเครื่องมือรูปแบบ ( Formatting  Toolbar ) 

 


 

 

                 แถบเครื่องมือนั้นสามารถที่จะซ่อนหรือแสดงได้โดย  เลือกที่เมนู View > Toolbars   ชื่อแถบเครื่องมือ 


การขอความช่วยเหลือจาก  Microsoft  Word 2002 

        ระบบขอความช่วยเหลือจาก Microsoft  Word 2002  นั้นเปรียบเสมือนกับคู่มือการใช้งานต่างๆ  โดยจะมีคำอธิบายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  ทำได้ดังนี้             

            1.เลือกเมนู Help  >  Microsoft  Word 2002 Help หรือกดแป้น    

        2.จะปรากฏกรอบคำถามที่ต้องการขอความช่วยเหลือ 

            3.กรอกข้อความที่ต้องการขอความช่วยเหลือ 

            4.คลิกปุ่ม Search หรือกดแป้น  

        5.คลิกเลือกหัวข้อที่ต้องการ 

            6.ระบบจะแสดงข้อความตามหัวข้อที่เลือก 

การกำหนดค่าต่างๆให้กับตัวอักษร 

        การกำหนดค่าต่างๆให้กับตัวอักษรนั้น  สามารถปรับจาก Formatting Toolbar  ซึ่งประกอบไปด้วยลักษณะของแบบอักษรในลักษณะต่างๆดังนี้ 

  รูปแบบตัวอักษร  

        รูปแบบตัวอักษร หรือ ฟอนต์( Font ) มีรูปแบบที่แตกต่างกัน  ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนรูปแบบของตัวอักษรได้ดังนี้ 

        1.เลือกข้อความซึ่งต้องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบที่ปรากฏของข้อความนั้น 

            2.คลิกเลือกรูปแบบตัวอักษรจากรายการรูปแบบอักษร 

            3.เลือกรูปแบบตัวอักษรที่ต้องการ 

  

 

การเปลี่ยนขนาดของตัวอักษร 

            การเปลี่ยนขนาดของตัวอักษร  คือ  การทำให้ขนาดตัวอักษรใหญ่ขึ้นหรือเล็กลงตามขนาดที่ต้องการ  ทำได้ดังนี้ 

            1.เลือกข้อความที่ต้องการเปลี่ยนขนาด 

            2.คลิกเลือกขนาดตัวอักษรจากายการขนาด 

            3.เลือกขนาดของตัวอักษรที่ต้องการ

การเปลี่ยนตัวอักษรให้เป็นตัวหนา เอน และขีดเส้นใต้ 

                   ใน Microsoft Word 2002 สามารถกำหนดให้ตัวอักษรมีลักษณะเป็นตัวหนา  เอน  หรือขีดเส้นใต้  เพื่อเน้นข้อความได้ตามความต้องการ  โดยสามารถทำได้ดังนี้ 

                อักษรตัวหนา 

                                1.เลือกข้อความที่ต้องการให้เป็นตัวอักษรหนา 

                                2.คลิกเมาส์ปุ่ม Bold () 

                               3.ตัวอักษรที่เลือกไว้จะหนาขึ้นกว่าเดิม 

 

อักษรตัวเอน 

                        1.เลือกข้อความที่ต้องการให้เป็นตัวอักษรเอน 

                                2.คลิกเมาส์ปุ่ม Italic () 

                               3.ตัวอักษรที่เลือกไว้จะมีลักษณะเอียง 

 

 

อักษรขีดเส้นใต้

                        1.เลือกข้อความที่ต้องการให้เป็นตัวอักษรขีดเส้นใต้ 

                                2.คลิกเมาส์ปุ่ม Underline () 

                               3.ตัวอักษรที่เลือกไว้จะถูกขีดเส้นใต้ 

การจัดแนวข้อความ 

                การจัดแนวข้อความ (Alignment) ช่วยทำให้สร้างเอกสารต่างๆได้ง่ายขึ้น  โดยสามารถกำหนดให้ข้อความ  หรือย่อหน้าต่างๆจัดชิดด้านใดด้านหนึ่งของเอกสารได้  ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ 

                   1.คลิกเมาส์  ให้ตัวแทรกข้อความปรากฏที่ตำแหน่งใดก็ได้ในย่อหน้านั้นๆ 

     2.เลือกการจัดวางข้อความที่ต้องการ  เช่น 

                2.1 ต้องการให้ข้อความจัดชิดซ้าย  ใช้ปุ่ม Left Alignment () 

                2.2 ต้องการให้ข้อความจัดกึ่งกลาง  ใช้ปุ่ม Centered Alignment () 

                2.3 ต้องการให้ข้อความจัดชิดขวา ใช้ปุ่ม Right Alignment () 

                2.4 ต้องการให้ข้อความจัดชิดซ้ายและชิดขวา ใช้ปุ่ม Justified Alignment () 

                2.5 ต้องการให้ข้อความจัดชิดซ้ายและชิดขวา รวมทั้งระยะห่างของเว้นวรรคของย่อหน้าให้เท่ากัน  ใช้ปุ่ม Distributed   

    3. จะได้ข้อความหรือย่อหน้าตามที่จัดวาง


รูปเรขาคณิตจาก Drawing Toolbar

 การสร้างวัตถุหรือรูปทรงเรขาคณิต  ตลอดจนการตกแต่งวัตถุหรือรูปทรงเรขาคณิตต่างๆลงในเอกสารโดยใช้เครื่องมือจาก  Drawing Toolbar ผุ้ใช้สามารถทำได้ ดังนี้ 

การสร้างรูปเรขาคณิต 

        1.เลือกเครื่องมือ Drawing Toolbar จากเมนู View > Toolbars >Drawing   

     2. จะปรากฏ Drawing Toolbar

การกำหนดสีและลักษณะเส้นรูปเรขาคณิต 

          การกำหนดสีและลักษณะเส้นรูปเรขาคณิต  เป็นการเปลี่ยนสีให้กบวัตถุที่สร้างขึ้น  ซึ่งประกอบไปด้วย  สีเส้นขอบ  สีพื้น  สามารถทำได้  ดังนี้  

1. คลิดเมาส์ที่วัตถุที่ต้องการเปลี่ยน  

2. เลือกที่สี Drawing Toolbar  

2.1 เลือกที่สีพื้นวัตถุ 

2.2 เลือกสีเส้นขอบวัตถุ 

               3. เลือกลักษณะและขนาดของเส้นขอบ 

                        3.1 เลือกขนาด 

                         3.2 เลือกลักษณะ 

3.3 เลือกลักษณะลูกศรให้กับเส้น ( ใช้เลือกได้เฉพาะวัตถุที่มีลักษณะเป็นเส้นเท่านั้น ) 

4. จะปรากฏลักษณะของวัตถุตามที่กำหนด 

 

  

อักษรศิลป์ 

        อักษรศิลป์เป็นรูปแบบตัวอักษรที่ถูกออกแบบให้เป็นวัตถุ  และมีความสวยงาม  ซึ่งมีแบบและสีให้เลือกมากมาย  สามารถทำได้ดังนี้ 

 1. คลิกปุ่ม WordArt ( ) ที่ Drawing Toolbar หรือ เมนู Insert>  Picture > WordArt . . .

2. เลือกแบบอักษรศิลป์ 

3. คลิกปุ่ม (OK) 

4. เลือกรูปแบบตัวอักษร ขนาด และลักษณะอักษร (หนา, เอียง) 

5. พิมพ์ข้อความ

6. คลิกปุ่ม (OK ) 

7. จะปรากฏอักษรศิลป์ตมที่กำหนด 

  

                 ในการตกแต่งแก้ไขรูปภาพหรืออักษรศิลป์เราสามารถตกแต่งหรือแก้ไขได้โดยใช้  WordArt  Toolbar  โดยเลือกเมนู View> Toolbars WordArt


การแทรกรูปภาพ 

        การนำรูปภาพมาเป็นส่วนประกอบในเอกสารจะทำให้เอกสารมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นการนำภาพเข้ามานั้น  แบ่งออกเป็นวิธีต่างๆ  ได้ดังนี้ 

 

จาก Clip Gallery

          1. เลือกเมนู Insert> PictureClip Art   หรือคลิกปุ่ม () บนแถบเครื่องมือ Drawing Toolbar

2. จะปรากฏแถบเครื่องมือ Insert  Clip Art  

3. เลือกตำแหน่งที่เก็บรูป Clip Art ในช่อง Search in : () Office  Collection

          4. เลือกประเภทของรูปในช่อง Results should be : () Clip Art

          5. คลิกปุ่ม (Search) 

                6. จะปรากฏรูป Clip Art ที่ค้นพบ 

                7. คลิกรูป Clip Art ที่ต้องการใส่ลงในเอกสาร 

                8. จะปรากฏรูป Clip Art ในเอกสารตามที่ต้องการ 



จากไฟล์รูปภาพ 

1.เลือกเมนู Insert -> Picture -> From File … หรือ คลิกปุ่ม  บนแถบเครื่องมือ Drawing Toolbar

2.เลือกตำแหน่งในไดรฟ์ที่เก็บรูปภาพ

3.เลือกไฟล์รูปภาพ 

4.คลิกปุ่ม [Insert]

5.จะปรากฏรูปภาพที่เลือก

การปรับภาพด้วย Picture Toolbar

          คลิกขวาที่รูปภาพที่ต้องการปรับเปลี่ยนเลือก Show Picture Toolbar หรือเลือกเมนู View -> Toolbars -> Picture เพื่อเรียกใช้ Picture Toolbar


สัญลักษณ์หน้าขอความและลำดับเลขข้ออัตโนมัติ 

                ในเอกสารที่ถุกสร้างขึ้นมักจะมีสัญลักษณ์หน้าข้อความหรือการแสดงลำดับตัวเลขหน้าหัวข้อ ต่าง ๆ เช่น ลำดับรายการสินค้า เป็นต้น ซึ่งลักษณะเหล่านี้สามารถกำหนดได้ดังต่อไปนี้ 

การใส่สัญลักษณ์หน้าข้อความ 

วิธีที่ 1 (กำหนดก่อนการพิมพ์)

1.เลือกเมนู Format -> Bullets and Numbering

2.เลือก Bulleted และแบบสัญลักษณ์ที่ต้องการ

3.คลิกปุ่ม OK

4.จะปรากฏสัญลักษณ์ที่เลือกไว้


  

วิธีที่2 (กำหนดรูปแบบเอง)

1.พิมพ์สัญลักษณ์หน้าข้อความที่ต้องการ เช่น หรือ > และเว้นวรรคหนึ่งครั้ง

2.พิมพ์ข้อความในหัวข้อนั้นจนครบ และกดแป้น  

3.บรรทัดที่พิมพ์ไปแล้ว และบรรทัดใหม่จะมีสัญลักษณ์นำหน้าข้อความ 

 

วิธีที่3 (กำหนดรูปแบบภายหลัง)

1.พืมพ์ข้อความในหัวข้อต่างๆจนครบทุกๆหัวข้อ

2.เลือกข้อความทุกบรรทัดที่ต้องการใส่สัญลักษณ์

3.คลิกปุ่ม Bullet

4.จะปรากฏสัญลักษณ์นำหน้าข้อความ

การใส่เลขหน้าให้กับเอกสาร  

การกำหนดให้มีลำดับเลขคณิตโดยนับตามจำนวนหน้าอัตโนมัติในเอกสาร มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 

1.เลือกเมนู Insert -> Page Numbers…

2.เลือกตำแหน่งว่าต้องการใส่ที่หัวกระดาษ (Header) หรือที่ท้ายกระดาษ (Footer)

3.กำหนดตำแหน่งว่าต้องการให้เลขหน้าปรากฏที่ตำแหน่ง ขวา,ซ้าย,กลาง, ริมในหรือริมนอก

 4.ต้องการแสดงเลขหน้าในหน้าแรกของเอกสารหรือไม่ ถ้าต้องการให้คลิก ถูกในช่องว่าง Show number on first page

5.กำหนดรูปแบบเพิ่มเติมให้คลิกที่ Format

6.เลือกรูปแบบเลขหน้า

7.กำหนดตัวเลขเริ่มต้น 

8.คลิกปุ่ม OK

9.คลิกปุ่ม OK

10. จะแสดงผลลัพธ์ตามที่กำหนด


ตาราง 

                เนื่องจากในเอกสารงานพิมพ์บางประเภทมีการอธิบายรายละเอียดหรือสรุปงานในรูปแบบของตาราง นอกจากนี้การเน้นข้อความหรือเติมสีต่างๆ ในตารางยังทำให้เอกสารเข้าใจได้ง่าย สร้างความน่านใจให้แก่งานได้เป็นอย่างดี การเรียนรู้เรื่องตาราง จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการใช้งาน Microsoft Word 2002

การสร้างตาราง 

                ตารางที่ใช้ประกอบในงานต่างๆ มักจะมีหลายตารางหลายรูปแบบ ทั้งนี้แล้วแต่รายละเอียดของงานนั้นๆ โดยทั่วไปแล้วการสร้างตารางจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การสร้างตารางอย่างง่าย และการสร้างตารางซับซ้อน

การสร้างตารางอย่างง่าย 

                การสร้างตารางใช้เพื่อจัดระเบียบของข้องมูลและสร้างโครงร่างหน้ากระดาษให้น่าสนใจ เช่น ตารางที่มีจำนวนของแถวและคอลัมน์เท่ากัน วิธีที่เร็วที่สุดในการสร้างตารางอย่างง่ายก็คือคลิกปุ่มแทรกตาราง (Insert Table) มีขั้นตอนดังนี้

1.คลิกบนตำแหน่งที่ต้องการจะสร้างตาราง 

2.คลิกปุ่มคำสั่งแทรกตาราง 

3.ลาการางเพื่อกำหนดจำนวนแถวและคอลัมน์ที่ต้องการ 

4.จะแสดงจำนวนตารางตามที่ได้กำหนดไว้ 


การสร้างตารางซับซ้อน 

                ผู้ใช้สามารถใช้ปุ่ม วาดตาราง ซึ่งเหมือนกับวิธีที่ใช้ปากกาเพื่อวาดตาราง มีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ 

1.คลิกตำแหน่งที่ต้องการสร้างตาราง 

2.ถ้าแถบเครื่องมือตารางและเส้นขอบไม่ได้แสดงอยู่ ให้คลิกที่ (ตารางและเส้นขอบ) แถบเครื่องมือจะปรากฏ ถ้าแถบเครื่องมือตารางและเส้นขอบแสดงอยุ่แล้วให้คลิกที่ (วาดตาราง) ลักษณะของตัวชี้จะเปลี่ยนเป็นปากกา

3.กำหนดขอบเขตด้านนอกของตารางให้วาด (ลาก) จากมุมหนึ่งไปยังมุมทแยงของตาราง

4.วาดเส้นคอลัมน์ และเส้นแถวภายในตารางตามต้องการ  

5.ปรับขนาดของเส้นให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ 

6.เมือต้องการลบเส้น ให้คลิกปุ่ม ลบ และลากคลุมเส้นที่ต้องการลบ 

7.เมื่อสร้างตารางเสร็จแล้วให้คลิกที่ช่องตาราง และพิมพ์ข้อความลงในตารางตามต้องการ

การจัดแนวข้อความในตาราง 

การจัดตำแหน่งข้อความ 

ผู้ใช้สามารถจัดวางข้อความในแนวนอนด้วยวิธีต่อไปนี้ 

1.คลิกช่องตารางที่บรรจุข้อความที่ต้องการจัดตำแหน่งข้อความ 

2.เมื่อต้องการวางแนวข้อความที่จัดตามทิศทางในแนวนอนภายในช่องตาราง ให้ใช้ปุ่มในรูปแบบต่างๆ ที่มีให้เลือก 

3.จะแสดงผลลัพธ์ตามที่ได้จัดไว้ 

การแสดงข้อความแนวตั้ง 

ผู้ใช้สามารถจัดวางข้อความในแนวตั้ง ด้วยวิธีต่อไปนี้ 

1.คลิกช่องตารางที่บรรจุข้อความที่ต้องการวาง 

2.เมื่อต้องการแสดงข้อความที่จัดทิศทางตามแนวตั้งภายในช่องตาราง ให้ใช้ปุ่มต่อไปนี้ 

   2.1จัดแนวข้อความแนวตั้งตามทิศทางจากบนลงล่าง ด้วยปุ่ม  

   2.2จัดแนวข้อความแนวตั้งตามทิศทางจากล่างขึ้นบน ด้วยปุ่ม

   2.3จัดแนวข้อความแนวตั้งตามทิศทางจากซ้ายไปขวา ด้วยปุ่ม

3.กำหนดการจัดวางต่างๆ ให้สวยงาม

การตกแต่งตาราง 

                   เมื่อสร้างตารางและพิมพ์ข้อความต่างๆ ลงในตารางแล้ว ผู้ใช้สามารถแต่งเติมสิ่งต่างๆ ให้กับตารางเพื่อให้เกิดความสวยงามและเพิ่มความน่าสนใจให้กับตารางมากยิ่งขึ้น โดยสามารถกำหนดได้ดังนี้ 

                การแรเงาเพื่อระบายสีพื้นหลังของตาราง 

                1.คลิกเมาส์ในช่องตารางที่ต้องการเพิ่มการแรเงา 

                2.เลือกสีที่ต้องการจากปุ่มคำสั่ง  

                3.จะปรากฏสีการแรเงาลงในตารางช่องต่างๆ ที่กำหนด

                4.เลือกทำซ้ำในข้อ 2 และข้อ 3 จนครบทุกๆ ช่อง

                5.จะแสดงตารางที่แรเงา

การกำหนดลักษณะต่างๆ ของเส้นตาราง

                ตารางในเอกสาร Microsoft Word ในการสร้างตารางจะมีค่าเริ่มต้นเป็นเส้นขอบเดี่ยวทึบที่มีความหนาครึ่งจุด ผู้ใช้สามารถกำหนดรูปแบบให้แตกต่างไปจากค่ามาตรฐานเดิมได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

                1.คลิกเครื่องมือ(Draw Table)

                2.เลือกลักษณะของเส้นจาก (Line Style)

                3.เลือกขนาดความหนาของเส้นจาก (Line Weight)

                4.เลือกสีของเส้นจาก (Border Color)

                5.วาดเส้นซ้ำตำแหน่งที่ต้องการเปลี่ยนลักษณะของเส้นตาราง

                6.จะแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการเปลี่ยนลักษณะของเส้นตาราง

*************ภาพ5

เครื่องมืออื่นๆ เกี่ยวกับตาราง

                นอกจากเครื่องมือที่นักเรียนเคยใช้งานมาบ้างแล้วยังมีเครื่องมืออื่นๆ อีกที่ช่วยในการตกแต่งและสร้างตาราง ดังจะกล่าวในห้องข้อต่อไปนี้


               

การบันทึกข้อมูล

               การบันทึกมูล คือ การเก็บข้อความต่างๆ ที่ได้พิมพ์หรือตั้งค่าต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้เพิ่มจะได้นำกลับมาใช้ได้ในภายหลังโดยการบันทึกข้อมูลมีคำสั่งที่ใช้อยู่ 2 คำสั่ง คือ คำสั่ง Save และ คำสั่ง Save As ซึ่งใช้ต่างกันดังนี้

คำสั่ง Save

                คำสั่ง Save ใช้เมื่อต้องการบันทึกข้อมูลที่ใช้งานอยู่ปัจจุบัน ซึ่งจะทำการบันทึกชื่อไฟล์เดิมซึ่งมีขั้นตอนการบันทึกดังต่อไปนี้

1.เลือก เมนู File -> save หรือกดเเป้น Ctrl +S

2.สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่แถบแสดงสถานะ (Status Bar)

หมายเหตุ จากรูป เป็นการบันทึกไฟล์เดิม (Doc1.doc) ที่เปิดขึ้นมาใช้งานและได้บันทึกข้อมูลด้วยคำสั่ง Save

คำสั่ง Save As

                  คำสั่ง Save As ใช้เมื่อต้องการบัทึกข้อมูลที่ใช้งานอยู่ปัจจุบัน ในชื่อหรือไดรฟ์ที่แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งจะมีขั้นตอนการบันทึกดังต่อไปนี้

1.เลือกเมนู File -> Save As… หรือกดแป้น

2.เลือกตำแหน่งที่ต้องการบันทึก

3.พิมพ์ชื่อไฟล์ที่ต้องการบันทึก

4.คลิกปุ่ม Save

5.สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่แถบแสดงสถานะ (Status bar) จะแสดงข้อความเพื่อแจ้งว่าโปรแกรมกำลังบันทึกข้อมูลอยุ่

NOTE: การบันทึกข้อมูลลงในไฟล์ครั้งแรก สามารถเลือกใช้ได้ทั้งคำสั่ง Save หรือ Save As

การเปิดเอกสารเดิม

การเปิดเอกสารเดิม คือการนำเอกสารที่เคยถูกบันทึกแล้วเปิดขึ้นมาใช้งานหรือแก้ไขเพิ่มเติมซึ่งสามารถทำได้ดังนี้

1.เลือกที่เมนู File -> Open… หรือ คลิปปุ่ม บน Standard Toolbar

2.เลือกตำแหน่งของเอกสารที่ต้องการเปิด

3.เลือกชื่อเอกสารหรือไฟล์ที่ต้องการเปิด

4.คลิกปุ่ม [OPEN]


การปิดเอกสาร

การปิดเอกสารที่กำลังเปิดใช้งานอยู่ สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้

วิธีที่ 1 เลือกจากเมนู File >   Close

วิธีที่ 2 ดับเบิลคลิกที่ปุ่ม  ที่แถบเมนูคำสั่ง

การออกจากโปรแกรม Microsoft Word 2002

การออกจากโปรแกรมสามารถทำได้หลายวิธีดังต่อไปนี้

วิธีที่ 1 เลือกที่เมนู File  >  Exit

วิธีที่ 2 คลิกที่ปุ่ม  (Close) บนแถมชื่อเรื่อง (Title Bar)

วิธีที่ 3 ดับเบิลคลิกที่ปุ่ม   บนแถมชื่อเรื่อง (Title Bar)

 

จบแล้วววว


Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 71,728 Today: 3 PageView/Month: 69

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...