เทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร

http://technowimut.siam2web.com/

ผังงาน 

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 

1. บอกความหมายและหลักเกณฑ์ของการเขียนผังงานได้ 

2. อธิบายวิธีการเขียนผังงานประเภทต่าง ๆ ได้ 

3. บอกความหมายของสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงานได้ 

4.อธิบายโครงสร้างผังงานแบบต่าง ๆ ได้ 

5. มีทักษะในการเขียนโครงสร้างของผังงาน (แบบลำดับ)

6. เห็นประโยชน์และนำวิธีการเขียนผังงานไปใช้ในชีวิตประจำวัน 

 

สาระสำคัญ 

       ผังงาน คือ แผนภาพแสดงการทำงานของระบบงาน หรือโปรแกรม โดยใช้สัญลักษณ์แสดงขั้นตอนและลักษณะการทำงานแบบต่าง ๆ การเขียนผังงานเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรมและสามารถศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบงานและโปรแกรมโดยรวม


ผังงาน (Flowchart) คือ แผนภาพแสดงการทำงานของระบบงานของระบบงานหรือโปรแกรม โดยใช้สัญลักษณ์แสดงขั้นตอนและลักษณะการทำงานแบบต่าง ๆ สัญลักษณ์เหล่านี้จะถูกเชื่อมโยงด้วยเส้นเพื่อแสดงลำดับการทำงาน ซึ่งการเขียนผังงานเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรม และสามารถศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบงาน และโปรแกรมโดยรวม 

 

ประโยชน์ของผังงาน 

 1.ช่วยให้มองเห็นภาพการทำงานโดยรวมของระบบงานหรือโปรแกรม 

2.สมมารถตรวจสอบความถูกต้องของลำดับการทำงานและการไหลของข้อมูลที่เกิดขึ้นในโปรแกรม 

3.สามารถนำผังงานไปใช้เขียนโปรแกรมด้วยภาษาทางคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับระบบงานได้


ประเภทของผังงาน (Types of  Flowchart)

การเขียนผังงานในรูปแบบสัญลักษณ์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้ 

ผังงานระบบ 

       ผังงานระบบ (System Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงลำดับการทำงานของระบบ ซึ่งจะแสดงภาพรวมของระบบ โดยมีการนำข้อมูลเข้า (Input) ประมวลผล (Process) และข้อมูลออก (Output) โดยแสดงถึงสื่อนำข้อมูลเข้า ออก แต่ไม่ได้แสดงวิธีการประมวลผล 

 

จากตัวอย่างผังงานระบบในรูปที่ 4.1 สามารถอธิบายเป็นขั้นตอนได้ดังนี้ 


 1. นำข้อมูลจากหลักฐานข้อมุลพนักงานซึ่งอยู่ในดิสก์(Disk)จึงเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ 

2. คำนวณเงินเดือนของพนักงาน เป็นการประมวลผล จึงเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ 

  3. พิมพ์เช็ค เป็นการแสดงผลลัพธ์ออกทางเครื่องพิมพ์ จึงเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ 


ผังงานโปรแกรม 

                ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงการทำงานย่อยหรือลำดับในโปรแกรม ซึ่งจะแสดงรายละเอียดขั้นตอนการทำงานและประมวลของโปรแกรม 

นั้น ๆ  ทำให้รู้วิธีการคำนวณรับข้อมูลจากสื่อใด และประมวลผลอย่างไร รวมถึงการแสดงผลลัพธ์ด้วยสื่อหรือวิธีใด 

                ตัวอย่างผังงานโปรแกรม ในที่นี้จะแสดงการคำนวณเงินเดือนของพนักงาน โดยคิดจากชั่วโมงการทำงานในเดือนนั้นๆ ไม่เกิน 160 ชั่วโมง เงินเดือนจะถูกคำนวณโดยใช้อัตราค่าแรงตามปกติ แต่ถ้าชั่วโมงการทำงานเกินกว่า 160 ชั่วโมง  160 ชั่วโมงแรก ให้คิดค่าแรงปกติ และจำนวนชั่วโมงที่เกินนำมาคิดในอัตราค่าล่วงเวลา (Overtime หรือ OT) ซึ่งเท่ากับ 1.5 เท่าของอัตราค่าแรงปกติ

จากตัวอย่างผังงานโปรแกรมในรูปที่ 4.2 สามารถอธิบายเป็นขั้นตอนได้ดังนี้ 

1.เริ่มต้นโปรแกรม ใช้สัญลักษณ์เทอร์มินัล 

2.รับข้อมูลเข้า หรืออ่านค่าของข้อมูล ใช้สัญลักษณ์การรับค่าหรือแสดงผล

โดยข้อมูลที่รับเข้าประกอบด้วย

-          ชื่อพนักงาน

-          จำนวนชั่วโมงการทำงาน

-          อัตราค่าแรง

3. พิจารณาเงื่อนไขว่าจำนวนชั่วโมงการทำงานมากกว่า 160 ชั่วโมงหรือไม่ โดยใช้สัญลักษณ์การตัดสินใจ

       3.1  ถ้าใช่ ให้ใช้สมการต่อไปนี้ในการคำนวณค่าจ้าง

             ค่าจ้าง = ((ชั่วโมงการทำงาน - 160) x 1.5 x อัตราค่าแรง) + (160 x อัตราค่าแรง)

       3.2 ถ้าไม่ใช่ ให้ใช้สมการต่อไปนี้ในการคำนวณค่าจ้าง

              ค่าจ้าง = ชั่วโมงการทำงาน x อัตราค่าแรง

      การคำนวณค่าจ้างในขั้นตอนที่ 3.1 หรือ 3.2 ใช้สัญลักษณ์การประมวลผล 

4. แสดงชื่อพนักงาน และค่าจ้างที่ได้จากการคำนวณ ใช้สัญลักษณ์การรับเข้าหรือแสดงผล

5. จบโปรแกรมโดยใช้สัญลักษณ์เทอร์มินัล

 

สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน (Flowchart Symbols)

         การเขียนผังงาน เป็นการนำแผนภาพเพื่อใช้แสดงขั้นตอนการทำงาน โดยนำภาพสัญลักษณ์ต่างๆมาเรียงต่อกัน สัญลักษณ์ที่นิยมนำมาใช้ในการเขียนผังงานนั้นหน่วยงานที่มีชื่อว่า American National Standards Institute (ANSI) ได้ร่วมกันกำหนดสัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐานเพื่อใช้ในการเขียนผังงาน ซึ่งแสดงในตารางที่ 4.1

ตารางที่ 4.1 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน


หลักเกณฑ์ในการเขียนผังงาน

1.สัญลักษณ์ที่ใช้อาจมีขนาดต่างกันได้ แต่จะต้องมีรูปร่างได้สัดส่วนเป็นไปตามมาตรฐาน

2.ทิศทางของลูกศรในผังงาน ควรจะมีทิศทางจากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวาเสมอ

3.ผังงานควรมีความเรียบร้อย สะอาด และถ้าในผังงานมีการเขียนข้อความอธิบายใด ๆ ควรทำให้สั้น กะทัดรัด และได้ใจความ

4.ควรเหลีกเลี่ยงการเขียนลูกศรที่ทำให้เกิดจุดตัดเพราะจะทำให้ผังงานอ่านและทำความเข้าใจได้ยาก

 

โครงสร้างของผังงาน

            ลักษณะโครงสร้างของผังงาน (Flowchart Structure) จะประกอบด้วย 3 โครงสร้างพื้นฐาน ดังนี้

โครงสร้างแบบลำดับ

            โครงสร้างแบบลำดับ (Sequence Structure) มีรูปแบบลำดับการทำงานเรียงกันเป็นเส้นตรงจากบนลงล่าง ซึ่งเป็นผังงานที่มักพบมากที่สุด

จากตัวอย่างโครงสร้างผังงานแบบลำดับรูปที่ 4.4 สามารถอธิบายเป็นขั้นตอนได้ต่อไปนี้

1.เริ่มต้นการทำงาน

2.นำข้อมูลเข้า โดยการรับค่าเงินต้น และอัตราดอกเบี้ย (เพื่อใช้คำนวณหาดอกเบี้ย)

3.คำนวณหาดอกเบี้ย โดยใช้สมการต่อไปนี้ ดอกเบี้ย = เงินต้น * อัตราดอกเบี้ย

4.แสดงค่าผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณหาดอกเบี้ย

5.จบการทำงาน

 

โครงสร้างแบบทางเลือก 

        โครงสร้างแบบทางเลือก (Selection Structure) มีรูปแบบที่ซับซ้อนกว่าโครงสร้างแบบลำดับ ซึ่งรูปแบบของโครงสร้างนี้ จะมีทางเลือกมากกว่าทางเลือกเดียว โดยทั่วไปโครงสร้างนี้เขียนให้ง่ายขึ้นโดยแสดงทางเลือกให้มีทางออกเพียง 2 ทางเลือกซึ่งจะเป็นเส้นทางเลือกที่ออกจากสัญลักษณ์การตัดสินใจ คือ ใช่ หรือไม่ใช่เท่านั้น

จากตัวอย่างโครงสร้างผังงานแบบทางเลือกรูปที่ 4.6 สามารถอธิบายเป็นขั้นตอนได้ดังนี้

1.เริ่มต้นการทำงาน

2.รับค่าเงินต้น

3.พิจารณาทางเลือกจากเงินต้นที่รับเข้ามาว่า มากกว่า 1 ล้านบาท หรือ ไม่

3.1ถ้าใช่ให้คำนวณดอกเบี้ยเงินฝากในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 บาท ด้วยสมการดอกเบี้ยเงินฝาก = เงินต้น * 0.05

3.2ถ้าไม่ใช่ ให้คำนวณดอกเบี้ยเงินฝากในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ4 บาท ด้วยสมการดอกเบี้ยเงินฝาก = เงินต้น *0.04

4.แสดงค่าผลลัพธ์ดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้จากการคำนวณ

5.จบการทำงาน

 

โครงสร้างแบบทำซ้ำ

       โครงสร้างแบบทำซ้ำ (Iteration Structure) มีรูปแบบการทำงานที่ทำซ้ำหลายๆ รอบ เป็นไปตามเงื่อนไขที่มีค่าเป็นจริง จนกระทั่งเงื่อนไขมีค่าเป็นเท็จ จึงจะไปทำงานในขั้นตอนอื่นๆต่อไปตามลำดับของโครงสร้างนั้น

 


จากตัวอย่างโครงสร้างผังงานแบบทำซ้ำรูปที่ 4.8 สามารถอธิบายเป็นขั้นตอนได้ดังนี้

1.เริ่มต้นการทำงาน

2.รับค่าเงินต้น อัตราดอกเบี้ย และจำนวนปีที่ฝากเงิน (เพื่อใช้ในการคำนวณเงินต้นทบเงินดอกตามจำนวนปีที่ฝากเงิน)

3.กำหนดให้ n มีค่าเท่ากับ 0 (ค่า n ใช้สำหรับนับจำนวนรอบของการคิดดอกเบี้ย)

4.กำหนดให้ยอดบัญชี มีค่าเท่ากับเงินต้นที่รับค่าเข้ามา

5.พิจารณาทางเลือกจากค่า n น้อยกว่า จำนวนปีที่ฝากเงินหรือไม่

            5.1 ถ้าใช่ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

                 5.1.1 คำนวณยอดบัญชีใหม่โดยทบดอกเบี้ยเพิ่มเข้าไปในยอดบัญชีเดิม ด้วยสมการยอดบัญชี = ยอดบัญชี + (ยอดบัญชี *อัตราดอกเบี้ย)

                 5.1.2เพิ่มค่า n ไปอีก 1

                 5.1.3กลับไปเปรียบเทียบเงื่อนไขในข้อที่ 5

                 5.2 ถ้าไม่ใช่ แสดงค่ายอดบัญชี ซึ่งได้ผลลัพธ์จากการคำนวณแล้ว

6.จบการทำงาน



จบแล้วจ้า

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 71,761 Today: 3 PageView/Month: 102

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...