เทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร

http://technowimut.siam2web.com/

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 

 

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 

       1.อธิบายความหมายและวัติถุประสงค์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

       2.แยกรูปแบบโครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 

       3.อธิบายประมวลผลของข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 

       4.อธิบายชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 

       5.มีทักษะในการแสวงหาความรู้ในเรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 

       6.มีเจตคติที่ดีในการใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์


สาระสำคัญ 

       เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือการนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อโดยผ่านสื่อเพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูล และใช้ทรัพยากรในเครือข่ายร่วมกัน เช่น เครื่องพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่ต้องใช้ร่วมกันในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ กันและมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันด้วย เช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์เครื่องเวิร์กสเตชัน เป็นต้น การประมวลผลข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับวัติถุประสงค์และนโยบายของการทำงานขององค์กร 

เครือข่ายคอมพิวเตอร์(Computer Network) คือ การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป มาเชื่อมต่อผ่านสื่อเพื่อใช้ในการสื่อสานข้อมูล และใช้ทรัพยากรในเครือข่ายร่วมกัน


วัตถุประสงค์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

       ในการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีวัตถุประสงค์ดังนี้

              1.เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างเครื่องคอมพวเตอร์ในเครือข่าย เช่น การใช้ข้อมูลและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้แก่ เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดิสก์ สแกนเนอร์ เป็นต้น

              2.เพื่อเป็นการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ใช้งานในระบบเครือข่าย

              3.เพื่อความน่าเชื่อถือในการประมวลผลข้อมูล โดยมีการสำรองข้อมูล และการกู้คืนข้อมูลกลับมาใช้ได้ใหม่เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมีปัญหา

              4.เพื่อให้สามารถควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ในระยะทางไกลได้

 

 

โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Topology) คือการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นระบบเครือข่าย สามารถทำได้หลายรูปแบบ ดังนี้

 

โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส (Bus Topology)

ลักษณะการเชื่อมต่อ : ประกอบด้วยสายส่งข้อมูลหลัก เครื่องคอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อเข้ากับสายส่งข้อมูลหลักผ่านจุดเชื่อมต่อ โดยสายส่งหลักจะต่อเป็นเส็นตรง ที่ปลายสายจะมี

เทอร์มิเนเตอร์ (Terminator)  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ดูดกลืนข้อมูลออกจากสายส่งเมื่อข้อมูลเดินทางถึงปลายสาย ส่วนใหญ่ใข้สายโคแอกเชียลเป็นสายส่งข้อมูลหลัก

       การส่งขอ้มูล : ข้อมูลจะถูกส่งกระจายออกไปในสายส่งทั้งสองทาง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกกำหนดให้เป็นผู้รับเท่านั้นสามารถเป็ดขข้อมูลอ่านได้

       ข้อดี : ใช้สายส่งข้อมูลน้อย ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

       ข้อเสีย : ถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมาก ทำให้เกิดการชนกันของข้อมูลมากด้วย และการตรวจสอบว่าระบบเครือข่ายมีปัญหาที่จุดใดทำได้ยาก


โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (Star Topology)

ลักษณะการเชื่อมต่อ : เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายจะเชื่อมต่อสายมายังฮับ (Hup) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการกระจายข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย การเชื่อมต่อมัลักษณะคล้ายรูปดาวมีแฉก สายเคเบิลที่ใช้เชื่อมต่อจากเครื่องคอมพิวเตอร์มายังฮับ โดยส่วนใหญ่ใช้สายคู่บิดเกลียว

       การส่งข้อมูล : ข้อมูลจะถูกส่งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ส่งไปยังฮับก่อน แล้วฮับจะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นออกไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่ต่อเข้ากับฮับ

       ข้อดี : ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่เพิ่มเข้ามาในเครือข่ายทำได้ง่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ใดมีปัญหา การว่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่ายยังทำงานต่อไป และตรวจสอบได้ง่ายว่าเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีปัญหาในจุดใด

       ข้อเสีย : ต้องการใช้สายเคเบิลในการเชื่อมต่อมาก และเมื่อฮับไม่ทำงาน หรือมีปัญหา เครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถส่งข้อมูลถึงกันได้

 

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหนน (Ring Topology)

ลักษระการเชื่อมต่อ : เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นรูปวงแหวน โดยการเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ถัดไปเรื่อย ๆ จนคบเป็นลักษระวงแหวน

การส่งข้อมูล : ขอ้มูลจะส่งออกไปในทิศทางเดียว กล่าวคือ ข้อมูลจะส่งไปทิศทางตามเข็มหรือทวนเข็มนาฬิกา โดยส่งออกจากเครื่องผู้ส่งแล้วส่งออกไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเป็นการส่งต่อไปเป็นทอด ๆ

ข้อดี : ไม่เกิดการชนกันของข้อมูล และใช้สายส่งข้อมูลน้อยกว่าดาว

ข้อเสีย : ถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายมีปัญหาทำให้การเสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายไม่สามารถทำงานได้ต่อไป

 

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบตาข่าย (Mesh Topology)

ลักษระการเชื่อมต่อ : เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายทำการเชื่อมต่อถึงกันทั้งหมดโดยเชื่อมต่อสายเคเบิลจากเครื่องหนึ่งไปอีกเคื่องหนึ่ง เช่น มีเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายทั้งหมด 3 เครื่อง จะมีสายเคเบิล 2 เส้น เพื่อเชื่อมไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสอง ดังนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องใช้สาย 2 เส้น ถ้าในเครือข่ายมีทั้งหมด 3 เครื่อง จะมีสายเชื่อมโยงกันทั้งหมด 6 เส้นนั้นเอง

การส่งข้อมูล : ข้อมูลจะถูกส่งออกไปยังผู้รับโดยตรง

ข้อดี :ไม่เกิดการชนกันของข้อมูลเพราะไม่มีสายใช้ร่วมกัน ส่งข้อมูลได้ราดเร็ว

ข้อเสีย : มีค่าใช้จ่ายของสายเคเบิลสูง ทำการติดตั้งยาก

 

ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์

     เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่แตกต่างกันไป จึงทำให้ชื่อเรียกแตกต่างกันดังนี้ คือ

 

       เครื่องเซิร์ฟเวอร์

        เครื่องเซิร์เวอร์ (Server) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องแม่ข่าย ทำหน้าที่บริการต่าง ๆ แก่เครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่าย เช่น ให้บริการเครื่องพิมพ์ เรียกว่า Prib Server หรือให้บริการเมล เรียกว่า Mail Server เป็นต้น

 

       เครื่องคไลเอนต์

        เครื่องไคลเอนต์ (Client) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ร้องขอบริการไปยังเครื่องแม่ข่ายหรือเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เช่น ร้องขอบริการเครื่องพิมพ์ รอ้งขอบริการเช็กเมล เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นเครื่องเวิร์กสเตชันหรือเครื่องเทอร์นัลก็ได้

 

       เครื่องเวิร์กสเตชัน

        เครื่องเวิร์กสเตชัน (Workstation) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไปที่สามารถทำกการประมวลผลข้อมูลได้ โดยไม่ต้องรอรับผลจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์

 

       เครื่องเทอร์มินัล

        เครื่องเทอร์มินัล (Terminal) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่สามารถประมวลผลข้อมูลเองได้ มีหน้าที่เพียงรับข้อมูลเพื่อส่งประมวลผลที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์. และรอรับผลลัพธ์มาแสดงผล ดังนั้นเครื่องเทอร์มินัล อาจมีเพียงจิมอนิเตอร์และอุปกรณ์รับข้อมูลเท่านั้น

 

การประมวลผลข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์

     การประมวลผลข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Comtralized Processing) แบ่งเป็นสองรูปแบบดังนี้

      

       การประมวลผลข้อมูลที่ศูนย์กลาง

        การประมวลผลข้อมูลที่ศูนย์กลาง  (Comtralized Processing) เป็นการประมวลผลข้อมูลที่เครื่องเซิร์เวอร์ โดยเครื่องลูกข่าย  คือ เครื่องเทอมินัลจะทำการส่งคำขอร้องขอใช้บริการยังเครื่องเซิร์เวอร์ และรอรับผลลัพธ์กลับไปแสดงผลที่เคื่องเทอมินัล ถ้ามี่เครื่องเทอร์มินัลร้องขอพร้อมกันทำให้เครื่องเซิร์ฟเวอร์มีหน้าที่หนักมาก และอาจทำให้การประมวลผลล่าช้า ดังนั้นการเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์มาเป็นเครื่องเซิร์เวอร์ ต้องใช้เครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง คือมีความเร็วในการประมวลผลเพียงพอที่จะรองรับบริการที่รอ้งขอมาจากเครื่องเทอร์มินัลหลาย ๆ เครื่องได้

 

การประมวลผลข้อมูลแบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์

        เนื่องจากการประมวลผลที่ศูนย์กลาง ทำให้ภาระงานทั้งหมดเกิดความล่าช้า และปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์มีราคาต่ำลง และประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย จึงมีความคิดในการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ โดยออกแบบการประมวลผลแบบกระจาย กล่าวคือ เครื่องลูกข่ายเดิมทีเป็นเครื่องเทอร์มินัล เปลี่ยนมาเป็นเครื่องไคเอนต์ที่สามารถในการประมวลผลเองได้ดังนั้นการประมวลผลแบบไคเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server Processing) คือการแบ่งหน้าที่ในการประมวลผลทำได้เร็วขึ้นลดภาระงานของเครื่องเซิร์ฟเวอร์

 

ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

     ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จำแนกระยะทางของการเชื่อมต่อ สามาร-จำแนกได้ 4 ประเภทดังงนี่

 

       เครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

        คเรือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Area Network) หรือ แพน (Pan) เป็นเครือข่ายสำหรับการแลกเปลี่ยนสารสนเทศและบริการตลอดจนการใช้งานอุปกรณ์ร่วมกัน เทคโนโลยีที่นำมาใช้ เช่น บลูทูธ (Blie นน้ะ) ตัวอย่างการใช้ตัวอย่างส่วนบุคคล เช่น การเปลี่ยนแปลงข้อมูลระหว่างเครื่องพีดีเอกับเครื่องคอมตั้งโต๊ะสำหรับการใช้อินเตอร์เน็ทและอีเมล เป็นต้น

 

       เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบท้องถิ่น

        เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบท้องถิ่น (Local Area Network) นิยมเรียกสั่ย ๆ ว่า แลน (Lan) เป็นการเชื่อมต่อแบบแลนเข้าด้วยกันในระยะทางใกล้ ๆ หรือในพื้นที่ใกล้ ๆ ระยะทางการเชื่อมต่อ 10 กิโลเมตร เช่น ภายในห้องคอมพิวเตอร์ หรือภายในตัวอาคารเดียวกันหรืออาคารข้างเคียง เป็นต้น

 

ปัจจุบันเครือข่ายคอมพวเตอร์แบบท้องถิ่นมีการพัฒนาเป็นเครือข่ายแลนไร้สาย (Wireless Lan) กล่าวคือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเข้าด้วยกันโดยไม่ต้องมีการเดินสายสัญญาณแต่จะใช้เป็นสื่อแทน การสื่อสารจึงต้องใช้อุปกรณ์เป็นตัวกระจายสัญญยาณ ซึ่งเรียกว่า แอกเซสพอยท์ (Access Point) ทำหน้าที่คล้ายกับฮับ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการเชื่อมต่อเข้ากับแลนไร้สาย ต้องติดตั้งการ์ดเครือข่ายไร้สาย (Wireless Adapter) เช่นเดียวกัน  ด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้ทำให้ปัญญหาการเดินสายสัญญานลดลง

 

เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเชื่อมโยงภายในเมืองเดียวกัน

เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเชื่อมโยงภายในเมืองเดียวกัน (Metropolitan Area Network) หรือ แมน (Man) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนานใหญ่ โดยจะทำการเชื่อมโยงเครือข่ายท้องถิ่นภายในเมืองเดีนวเข้าด้วยกัน คลอมคลุมพื้นที่ทั้งตำบล หรืออำเภอ

 

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะทางไกล

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะทางไกล (Wide Area Network) หรือเรียกอีกอย่างว่าแวน (Wan) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มาก โดยเชื่อมโยงเครือข่ายแลน และแมนเข้าด้วยกันคลอบคลุมทั่วโลก เช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ท  เป็นต้น

 

จบแล้วค่ะ


Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 71,732 Today: 4 PageView/Month: 73

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...